ยากำจัดปลวกสำหรับบ้านที่ยังไม่พบปัญหาปลวก และต้องการป้องกันเอาไว้ก่อน
สำหรับบ้านที่ยังไม่พบปัญหาปลวก อาจไม่รีบร้อนในการป้องกัน แต่เราแนะนำให้ทุกบ้านหมั่นสำรวจตามจุดเสี่ยง และหากพบสัญญาณของปลวก พยายามอย่าใช้ยาฉีดปลวกเอง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการเลือกใช้สารเคมีกำจัดปลวก ซึ่งยากำจัดปลวกหรือสารเคมีกำจัดปลวกจะแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ
- ยาฆ่าปลวกแบบขับไล่ปลวก (Repellent Effect)
- ยาฆ่าปลวกแบบไม่ขับไล่ลวก (Non Repellent Effect)
หากเป็นบ้านที่กำลังปลูกสร้าง เร็นโทคิลแนะนำให้เลือกใช้ยากำจัดปลวกที่ออกฤทธิ์แบบขับไล่ปลวก (Repellent Effect) ซึ่งมีสารออกฤทธิ์อยู่ในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) เช่น ไบเฟนทริน
(Bifenthrin) หรือ แอลฟา ไซเพอร์เมทริน (Alpha-Cypermethrin) ปักอัดลงไปใต้ดินก่อนขั้นตอนของการเทพื้น โดยยาฉีดปลวกเหล่านี้จะทำให้ดินรอบๆ บ้านมีสภาพที่เป็นพิษ ทำให้ปลวกไม่สามารถผ่านเข้ามาในอาณาเขตตัวบ้านได้ อีกทั้งยังตกค้างในดินได้นาน 3-5 ปี
ส่วนบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แนะนำให้ใช้สารเคมีกำจัดปลวกที่ออกฤทธิ์แบบไม่ขับไล่ (Non Repellent Effect) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มฟีนิลไพราโซล (phenylpyrazole) เช่น ฟิโพรนิว (Fipronil) หรือกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (Neonicotinoids) ได้แก่ อิมิดาคลอพริด (Imidacloprid)
เมื่อปลวกงานสัมผัสหรือเดินผ่านเข้ามายังบริเวณที่มียาฆ่าปลวกจะไม่ตายทันที แต่สารเคมีนี้จะติดตามตัวปลวกไปจนถึงรังใต้ดิน เมื่อปลวกส่งผ่านอาหาร หรือสัมผัสกับปลวกตัวอื่นๆ ภายในรัง ก็จะทำให้พวกมันได้รับสารเคมีนี้ และแพร่กระจายไปทั่วรัง ซึ่งสารออกฤทธิ์ดังกล่าวจะไปยับยั้งกระบวนการลอกคราบของปลวก ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้และตายในที่สุด
อีกทั้งปลวกยังมีพฤติกรรมกินซากปลวกด้วยกันเอง ทำให้สารเคมีถูกแพร่กระจายต่อไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง